Skip to content
การวางแผนการตลาด ในธุรกิจโรงแรม และการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์
แผนการตลาด (Marketing Plan) เป็นเอกสารที่อธิบายถึงการ
วิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด ในปัจจุบันโดยระบุถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส
และอุปสรรค กำหนดวัตถุประสงค์ และพัฒนาแผนการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือเป็นเครื่องมือส่วนกลางสำหรับอำนวยความสะดวก
และประสานงานความพยายามทางการตลาด ซึ่งองค์ประกอบของแผนการตลาด
ของแต่ละโรงแรมอาจแตกต่างกัน
ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด
ขั้นที่ 1 ประวัติของบริษัท และบทสรุปสำหรับผู้บริหารของโรงแรม
เป็นการสรุปภาพรวมของแผนการตลาดแก่ฝ่ายบริหาร ซึ่งในการวางแผน
การตลาดควรต้องศึกษาประวัติความเป็นมาของธุรกิจก่อน
ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน
เป็นการอธิบายถึงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับตลาด ผลิตภัณฑ์ การแข่งขัน
การจัดจำหน่าย และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ การ
กำหนด และการวิจัยตลาดเป้าหมาย เพื่อหาลักษณะพฤติกรรมการซื้อ คาดคะเน
งบกำไรขาดทุน รวมถึงความเป็นไปได้ทางการตลาด ซึ่งการวิเคราะห์สถานการณ์
มีประโยชน์
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน (Internal
environmental analysis ) ประกอบด้วย เจ้าของกิจการและผู้
ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร พนักงาน วัฒนธรรมองค์กร
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกมหภาค (External macro
environmental analysis) ประกอบด้วย การเมือง เศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรมนักท่องเที่ยว เทคโนโลยี คู่แข่งขัน
การวิเคราะห์ SWOT (Strengths,
Weaknesses, Opportunities and
Threats ) เป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน
โอกาส และอุปสรรค ซึ่งถือว่า มีอิทธิพลต่อการ
กำหนดกลยุทธ์การตลาดของบริษัทโดยมี
รายละเอียด ดังนี้
สิ่งแวดล้อมภายใน
จุดแข็ง (Strengths)
– ความสามารถพนักงาน
– ตราสินค้าที่เป็นที่รู้จัก
-เทคโนโลยีล้ำสมัย
-การควบคุมการจำหน่าย
-การบริการที่ได้มาตรฐาน
-ความหลากหลายสินค้า
-กิจกรรมทางการท่องเที่ยว
-ผู้นำทางด้านต้นทุน
-การเงินที่มั่นคง
จุดอ่อน (Weaknesses)
– การเงินไม่เพียงพอ
-การพัฒนาสินค้าต่ำ
-ความชำนาญน้อย
-เทคโนโลยีล้าสมัย
-พนักงานขาดประการณ์
-ตราสินค้าไม่เป็นที่รู้จัก
-ต้นทุนสูง
สิ่งแวดล้อมภายนอก
โอกาส (Opportunities)
– ลูกค้าต้องการความแปลกใหม่
– การขยายตลาดทั่วโลก
– การได้เปรียบในเชิงเศรษฐกิจ
– การเมืองให้การสนับสนุน
งบประมาณในการพัฒนาการท่องเที่ยว
– การเปลี่ยนแปลงประชากร
– สังคมมีความปลอดภัย
ส่วนที่ 2 การวางแผนการตลาด (Marketing Planning)
ขั้นที่ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด
ㆍ วัตถุประสงค์ทางการเงิน เช่น ต้องการอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนกำไร
สุทธิ เป็นต้น
ㆍ วัตถุประสงค์ด้านการตลาด เช่น การสร้างความภักดี การสร้างการรับรู้ การ
สร้างภาพลักษณ์ การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย
ขั้นที่ 2 การกำหนดตลาดเป้าหมาย และตำแหน่งบริการ
การกำหนดตลาดเป้าหมายเป็นกิจกรรมการประเมิน และการเลือกหนึ่งส่วน
ตลาด หรือมากกว่าเป็นเป้าหมายโดยจะกำหนดเป้าหมายหลังจากแบ่งส่วนการตลาด
แล้ว ส่วนการกำหนดตำแหน่งบริการเป็นการสร้างตำแหน่งทางการแข่งขัน และ
กำหนดรายละเอียดของส่วนประสมการตลาด ซึ่งโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท ได้
กำหนดตลาดเป้าหมายหลักเป็นกลุ่มลูกค้าทั้งภายในประเทศและ
ต่างประเทศที่มาประชุมสัมมนา ส่วนการกำหนดตำแหน่งบริการของโรงแรมรอยัล
คลิฟ บีซ รีสอร์ท คือ เป็นโรงแรมสีเขียว (Green hotel) ที่มีคุณภาพการ
ให้บริการระดับสูง เป็นต้น
ขั้นที่ 3 การกำหนดกลยุทธ์และโปรแกรมการตลาด
-ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์บริการทางการแข่งขัน (Competitive
product differentiation) เป็นการกำหนดลักษณะผลิตภัณฑ์บริการ
ให้แตกต่างจากคู่แข่งขันและสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ ซึ่งการสร้าง
ความแตกต่างทางการแข่งข้น
-การกำหนดตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์บริการ (Brand positioning) เป็น
การออกแบบความแตกต่างของตราหรือธุรกิจ เพื่อแสดงจุดเด่นและตำแหน่ง
ผลิตภัณฑ์บริการที่มีคุณค่าในจิตใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
-องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ (Product component) กลยุทธ์ด้าน
ผลิตภัณฑ์บริการจะพิจารณาจากความแตกต่างทางการแข่งขันและองค์ประกอบ
หรือคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์บริการ
ㆍ ประโยชน์หลัก (Core benefit) หมายถึง ประโยชน์พื้นฐานของ
ผลิตภัณฑ์บริการที่ลูกค้าได้รับจากการซื้อบริการโดยตรง ซึ่งประโยชน์หลักของ
โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท คือ การบริการอย่างมีคุณภาพครบวงจร
ㆍ รูปลักษณะผลิตภัณฑ์ (Tangible product) หรือผลิตภัณฑ์พื้นฐาน
(Basic prod uct) หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์
บริการที่ผู้บริโภคสามารถสัมผัส หรือรับรู้ได้ ซึ่งเป็นสวนที่เสริมให้บริการนั้น
-คุณภาพ (Quality)
-รูปร่างลักษณะ
-ตรา
*ผลิตภัณฑ์ที่คาดหวัง (Expected product) หมายถึง กลุ่มของ
คุณสมบัติ และเงื่อนไขที่ผู้ซื้อคาดหวังว่า จะได้รับ และใช้เป็นข้อตกลงจากการซื้อ
ผลิตภัณฑ์บริการ การเสนอผลิตภัณฑ์ที่คาดหวังจะคำนึงถึงความพึงพอใจของ
ลูกค้าเป็นหลัก (Customer’s satisfaction) เช่น สิ่งที่ผู้บริโภค
คาดหวังจะได้รับจากโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท คือ ความสะดวกสบาย
การบริการที่ดี และความคุ้มค่ากับราคา เป็นต้น
*ผลิตภัณฑ์ควบ (Augmented product) หมายถึง ผลประโยชน์
เพิ่มเติมที่ผู้ซื้อคาดหวังว่า จะได้รับ และใช้เป็นข้อตกลงจากการซื้อบริการ เช่น
บริการเรือสำราญคาทามารานท่องเที่ยวหมู่เกาะใกล้เคียง
ㆍผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Potential Product) หมายถึง คุณสมบัติ
ของผลิตภัณฑ์บริการใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไปเพื่อสนองความ
ต้องการของลูกค้าในอนาคต เช่น ห้องสวีทสุดหรู ห้องชุดเพรสซิเดนเชียล ศูนย์
ประชุมพี่ช เป็นต้น
กลยุทธ์และโปรแกรมด้านราคา (Price strategies and programs)
การตั้งราคา และกำหนดกลยุทธ์ด้านราคานั้นจะคำนึงถึงกลุ่ม
ลูกค้าเป้าหมาย ภาระการณ์แข่งขัน ต้นทุนการผลิต เช่น โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช่ รี่สอร์ท
ใช้กลยุทธ์การตั้งราคาให้แตกต่างกัน
การจัดจำหน่าย (Distribution channel strategies and programs)
เช่น กลยุทธ์ และโปรแกรมด้านช่องทางการจัดจำหน่ายของ
โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท ได้แก่ การขายตรงโดยผ่านฝ่ายขายของโรงแรม
เว็บไซต์ของโรงแรม
การส่งเสริมการตลาด (Promotion) เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ขาย
และผู้ซื้อเพื่อสร้างทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อ ประกอบด้วย เครื่องมือในการ
ติดต่อสื่อสาร 10 ประการ
ส่วนที่ 3 การปฏิบัติการและการควบคุมทางการตลาด
(Marketing implement-tation and marketing control)
ขั้นที่ 1 การจัดองค์กรทางการตลาด (Marketing organization ) เป็นการกำหนดโครงสร้างการทำงานว่าผู้รับผิดชอบต้อง
ปฏิบัติหน้าที่ทางการตลาดอะไรบ้าง
ขั้นที่ 2 การปฏิบัติการทางการตลาด (Marketing implementation) เป็นการปฏิบัติตามโปรแกรมที่กำหนดไว้โดยการมี
แนวทางในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามที่ได้ระบุไว้
ขั้นที่ 3 การควบคุมทางการตลาด (Marketing control) จะกำหนดวิธีการวัดผลการดำเนินงานทางการตลาด
เช่น การวิเคราะห์ยอดขาย กำไร และส่วนครองตลาด